fbpx
 

วิเคราะห์ตลาดส่งออกสินค้าไทยสำหรับ SME พร้อม 10 สินค้าน่าส่งออก

วิเคราะห์ตลาดส่งออกสินค้าไทยสำหรับ SME พร้อม 10 สินค้าน่าส่งออก

ภาคการส่งออกถือเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนหลักของประเทศไทย กินสัดส่วนใหญ่ใน GDP ของทั้งประเทศ และยังเป็นภาคธุรกิจที่สร้างงานให้กับแรงงานในประเทศอีกด้วย รายได้จากการส่งออกจึงเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศไทยที่ภาครัฐพยายามผลักดันให้ธุรกิจขนาดใหญ่ไปจนธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SME) ให้สามารถเปิดตลาดไปยังต่างประเทศให้ได้ ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงมากในช่วงปี 2022 ยิ่งสร้างโอกาสของการส่งออกสินค้าไทยมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ด้วยเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันทำให้การขายสินค้าข้ามพรมแดนหรือ Cross border e-Commerce ทำได้สะดวกง่ายยิ่งขึ้น ธุรกิจขนาดเล็กหรือแม้แต่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ทำกิจการคนเดียวก็สามารถที่จะลงขายสินค้าใน Marketplace ต่างๆและส่งสินค้าให้กับลูกค้าในต่างประเทศได้โดยง่าย ความยากจึงไม่ได้อยู่ที่วิธีการแล้ว แต่เป็นเรื่องของการเลือกสินค้าและทำการตลาดเพื่อเพิ่มโอกาสในการขายให้ได้มากกว่า

ดังนั้น SME จึงต้องวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและเลือกสินค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายและเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มที่จะชอบสินค้าของเรา ไปดูกันว่าตลาดกลุ่มเป้าหมายของสินค้าไทยอยู่ที่ไหนกันบ้างค่ะ

 

ตลาดส่งออกของประเทศไทย

ข่าวดีคือสินค้าไทยเป็นที่ชื่นชอบจากชาวต่างชาติในหลายๆประเทศอยู่แล้ว ชาวต่างชาติค่อนข้างให้ความเชื่อมั่นกับคุณภาพของสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยว่ามีคุณภาพดี เมื่อเห็นคำว่า Made in Thailand แล้วก็มั่นใจได้เลยว่ามีคุณภาพที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดี และราคาก็คุ้มค่าอีกด้วย ตลาดส่งออกหลักๆของประเทศไทยในปัจจุบันคือ

  • กลุ่มประเทศในอาเซียน: ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของสินค้าไทยคือ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียน เนื่องจากระยะทางที่ใกล้กัน พื้นเพวัฒนธรรมที่ไม่แตกต่างกันมาก หลายๆประเทศสามารถขนส่งข้ามชายแดนกันได้เลย ลักษณะความชื่นชอบก็คล้ายคลึงกัน และที่สำคัญประเทศเพื่อนบ้านหลายๆประเทศยังมองว่าสินค้า Made in Thailand เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูงอีกด้วย สำหรับ 3 ประเทศในกลุ่ม AEC ที่มีมูลค่าส่งออกสินค้าจากไทยสูงที่สุดคือ เวียดนาม, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ตลาดประเทศอื่นๆก็มีมูลค่าที่สูงเช่นกัน
  • สหรัฐอเมริกา: ถ้านับเป็นรายประเทศ สถิติในปี 2565 (อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์) สหรัฐอเมริกาคือตลาดส่งออกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย มีมูลค่าการส่งออกที่เติบโตขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากยิ่งขึ้นอีกในอนาคต และยังคงเป็นตลาดหลักสำหรับผู้ประกอบการชาวไทยที่ขายผ่าน Amazon กับ eBay
  • ประเทศจีน: ด้วยตลาดที่มีขนาดใหญ่มากถึง 1,400 ล้านคนและด้วยการที่จีนเป็นประเทศที่เปรียบได้รับโรงงานของโลกจึงต้องการวัตถุดิบเข้าไปใช้ในการผลิตเป็นจำนวนมาก มูลค่าการส่งออกจากไทยไปจีนจนถึงสูงมากเป็นอันดับสาม ประกอบกับความชื่นชอบสินค้าไทยของคนจีนที่เติบโตขึ้นทุกปี เราได้เห็นข่าวทุเรียนไทยสร้างยอดขายมหาศาลในประเทศจีน แน่นอนว่ายังมีอีกหลายๆสินค้าที่พร้อมจะบูมได้ไม่ต่างกับทุเรียน
  • สหภาพยุโรป: กลุ่มประเทศยุโรปเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง และสินค้าไทยหลายๆชิ้นก็เป็นที่ต้องการในประเทศยุโรป และด้วยสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนทำให้เกิดความต้องการสินค้าอุปโภคและบริโภคเป็นจำนวนมากเข้าไปทดแทนสินค้าบางประเภทที่ไม่สามารถผลิตได้ เป็นโอกาสที่น่าสนใจให้กับสินค้าไทยสามารถเข้าไปทำตลาดส่งไปยุโรปได้
  • ประเทศญี่ปุ่น: ถึงแม้ว่ามูลค่าการส่งออกจากไทยไปญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าในภาคอุตสาหกรรมเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่สินค้าในหมวดอื่นๆจากบริษัทขนาดกลางและเล็กก็สามารถหาโอกาสทางการขายในญี่ปุ่นได้เช่นเดียวกัน
  • อินเดีย: เป็นตลาดดาวรุ่งที่น่าสนใจสำหรับการส่งออกของไทยมากๆ เพราะนอกจากจะมีมูลค่าการส่งออกที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว คนอินเดียยังนิยมมาเที่ยวเมืองไทยกันมากขึ้นอีกด้วย ทำให้เกิดการรับรู้ถึงสินค้าไทยในประเทศอินเดียและเชื่อว่าน่าจะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าหลายๆตัวได้เป็นอย่างดี เป็นตลาดที่ผู้ประกอบการควรจับตามองเอาไว้

 

6 ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการส่งออกในปี 66

ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีได้เข้ามาปลดล็อกการค้าขายทำให้ใครก็สามารถเริ่มขายสินค้าไปต่างประเทศได้ (Cross border e-Commerce) ผ่าน Marketplace ยอดนิยมอย่าง Amazon, eBay, Etsy, Alibaba และอื่นๆได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ก็ยังมีปัจจัยและความท้าทายหลายๆอย่างที่ SME ควรศึกษาทำความเข้าใจเพื่อประเมินสถานการณ์ในการส่งออกดังนี้ค่ะ 

 

1. เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ

สถานการณ์ของผู้ซื้อที่อยู่ในประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญๆจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการส่งออกของ SME ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่นในระหว่างที่เขียนบทวิเคราะห์นี้ สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวจากโควิด 19 ได้แล้ว เศรษฐกิจเติบโตจากการเปิดเมือง และค่าเงินบาทอ่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ (อ่อนค่าเป็นอย่างมาก) สร้างโอกาสที่ดีในการส่งออกสินค้าไทยไปยังอเมริกา ในขณะเดียวกันในประเทศจีนกำลังมีการล็อกดาวน์ปิดเมืองตามนโยบาย Covid Zero ดังนั้นถ้าคุณส่งสินค้าไปเมืองจีน ควรติดตามข่าวเหล่านี้อยู่ตลอด

 

2. อัตราแลกเปลี่ยน

เมื่อพูดถึงการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ แน่นอนว่า “อัตราแลกเปลี่ยน” มักจะเป็นประเด็นที่ถูกหยิบมาพูดถึงอยู่เสมอ เพราะอัตราแลกเปลี่ยนนั้นจะส่งผลต่อผลกำไรของผู้ขายและส่งผลต่อราคาที่ผู้ซื้อจะต้องจ่ายด้วย ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ (และอีกหลายๆสกุล) ทำให้ส่งผลดีต่อการส่งออก แต่เมื่อเทียบค่าเงินบาทกับสกุลอื่นๆที่ไม่อ่อนค่าอาจจะไม่ได้มีเรตที่สร้างความได้เปรียบมากนัก

 

3. ราคาน้ำมันดิบดูไบ

ทำไมผู้ส่งออกจึงต้องสนใจราคาน้ำมันด้วย ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าระหว่างประเทศเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันส่งผลต่อกำไรของผู้ขายและความสามารถในการซื้อของผู้ซื้อในประเทศปลายทางเป็นอย่างมาก

  • ราคาน้ำมันส่งผลต่อต้นทุนในการขนส่ง ยิ่งน้ำมันมีราคาแพงก็จะทำให้ค่าขนส่งมีราคาสูงขึ้น
  • ราคาน้ำมันส่งผลต่อกำลังซื้อของลูกค้า เพราะยิ่งราคาน้ำมันแพงก็จะทำให้ลูกค้าต้องใช้จ่ายกับค่าพลังงานมาก อาจจะทำให้เหลือเงินมาช้อปปิ้งออนไลน์ได้น้อยลง

 

4. ราคาวัตถุดิบโลกเฉลี่ย

ราคาวัตถุดิบหลักๆของโลกกลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ต้องจับตามอง เพราะส่งผลต่อราคาสินค้าที่จำหน่ายกันอยู่ในตลาด ถ้าหากว่าวัตถุดิบสำคัญๆมีการปรับราคาขยับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร ก็อาจจะส่งผลให้สินค้าของเรามีต้นทุนที่ขยับสูงขึ้นได้ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าในตลาดอาจจะน้อยลง

 

5. สถานการณ์โควิด 19

สถานการณ์โควิดส่งผลต่อการขายสินค้าออนไลน์ระหว่างประเทศในทางตรง ทั้งในเรื่องของการปิดเมืองที่เป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจ Ecommerce สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ แต่ในขณะเดียวกันการปิดเมืองก็ทำให้ผู้ซื้อเลือกที่จะประหยัดเงินไว้ใช้กับค่าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันมากกว่าที่จะซื้อสินค้าที่ฟุ่มเฟือน สินค้าบางอย่างจะได้รับประโยชน์ แต่ก็มีสินค้าอีกหลายๆอย่างที่เสียประโยชน์ ถ้าสินค้าของคุณอยู่ในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 การติดตามข่าวของประเทศเป้าหมายเอาไว้จะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยประเมินและวางแผนได้

 

6. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านการขนส่งโลจิสติกส์

บางประเทศยังมีนโยบายปิดพรมแดนและปิดเมืองอยู่ทำให้การขนส่งสินค้าบางประเภทอาจจะไม่สะดวกมากนัก และสินค้าบางประเภทอาจจะมีระยะเวลาในการขนส่งที่มากยิ่งขึ้นได้ในช่วงที่มีมาตรการเหล่านี้ แนะนำให้สอบถามข้อมูลจากผู้ให้บริการขนส่งให้ดี เหมือนอย่างที่เราได้เห็นข่าวเรื่องการส่งออกทุเรียนไปเมืองจีนที่ทุเรียนจำนวนมากไปติดอยู่ที่ด่าน เกิดความเสี่ยงที่ทุเรียนจำนวนมากจะเน่าเสียได้ 

นอกจากนี้ ราคาน้ำมันก็ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาค่าขนส่งเช่นเดียวกัน ราคาน้ำมันในปี 2022 มีความผันผวนเป็นอย่างมากจากการทำสงครามและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย จึงควรติดตามแบบใกล้ชิดว่าราคาน้ำมันที่ขยับเพิ่มลดนั้นจะส่งผลต่อต้นทุนในการจัดส่งสินค้าของคุณหรือไม่

 

หมวดสินค้าน่าสนใจสำหรับขายไปต่างประเทศ

การส่งออกสินค้าไปในแต่ละตลาดจะมีความท้าทายที่จะต้องเลือกสินค้าที่เหมาะสมกับตลาดนั้นๆ เพราะแต่ละประเทศจะมีความต้องการสินค้าไทยที่แตกต่างกันไป ดังนั้นคุณจึงต้องทำการบ้านสำหรับตลาดของคุณให้ดีว่าเหมาะกับสินค้าแบบไหน สำหรับภาพรวมของสินค้าที่น่าสนใจสำหรับขายต่างประเทศ Fastship ได้ลองหยิบรวบรวมเอาข้อมูลหมวดหมู่สินค้าขายดีใน Amazon มาให้ดูเป็นไอเดีย โดยเป็นข้อมูลหมวดหมู่สินค้าขายดีจาก Amazon FBA Top Categories ประจำปี 2021 ค่ะ

  • Bath & body
  • Fashion & Accessories
  • Auto part
  • Kitchenware
  • Snack & instant 
  • Home Decor 
  • Pet Supply
  • Electronic Part
  • Amulet
  • Food

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง



Bitnami