15 ก.ย. ส่งของไปญี่ปุ่น ต้องเสียภาษีจ่ายค่าอะไรบ้าง สรุปให้ใน 1 บทความ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศยอดนิยมของคนไทยทั้งการไปเที่ยว ไปทำงาน และไปเรียน ปัจจุบันมีคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากทั้งนักเรียน นักศึกษา และคนทำงาน ในมุมกลับกันก็มีคนญี่ปุ่นที่เข้าอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน ด้วยความที่ไทยเป็นฐานการผลิตใหญ่ของบริษัทญี่ปุ่น ปัจจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นที่ลงทุนในประเทศไทยมากกว่า 5,000 บริษัท ทำให้มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำงานในประเทศไทยในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก
นอกจากการมีประชากรย้ายเข้าไปอยู่อาศัยระหว่างกันของทั้ง 2 ประเทศเป็นจำนวนมากแล้ว การค้าขายระหว่างไทยกับญี่ปุ่นก็ยังสูงเป็นอันดับต้นๆของการส่งออกประเทศไทย ด้วยปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้ในแต่ละปีมีการส่งออกสินค้าจากไทยไปญี่ปุ่นและจากญี่ปุ่นมาที่ไทย เติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก เรื่องหนึ่งที่หลายๆคนมักจะเกิดความสงสัยเวลาส่งของไปญี่ปุ่นก็คือ “ภาษี”
ส่งของไปญี่ปุ่น ต้องเสียภาษีอย่างไร
สำหรับหลายๆท่านที่ต้องการส่งของไปญี่ปุ่น ไม่ว่าจุดประสงค์เพื่อการขายสินค้าหรือจะเป็นการส่งของไปให้คนในครอบครัว สิ่งที่หลายๆคนมักจะเกิดความสงสัยก็คือ “การส่งของไปญี่ปุ่นจะต้องเสียภาษีหรือไม่ เสียอย่างไร แล้วมีภาษีอะไรบ้างที่จะต้องจ่าย” เรามาแกะเรื่องภาษีในการส่งของไปญี่ปุ่นไปพร้อมกัน รวมถึงวิธีคำนวนภาษีสำหรับการส่งของไปญี่ปุ่นด้วย โดยเริ่มต้นจากภาษีนำเข้าของญี่ปุ่นกันก่อน
ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐบาลแต่ละประเทศเรียกเก็บจากผู้นำสินค้าเข้ามาในประเทศนั้นๆ โดยผ่านพิธีการศุลกากร ไม่ว่าจะนำเข้ามาทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศก็ตาม จะมีการเก็บภาษีเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ โดยกรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บภาษีขาเข้า-ขาออกและภาษีมูลค่าเพิ่ม ทุกประเทศจะมีการจัดเก็บภาษีในการนำสินค้าเข้าประเทศ และญี่ปุ่นเองก็เช่นกัน
สินค้าที่นำเข้าประเทศญี่ปุ่นจะต้องเสียภาษีอยู่ 2 ประเภทคือ
- ภาษีนำเข้า หรือ อากรนำเข้า
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
สินค้าแต่ละประเภทจะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันหรือเรียกว่าพิกัดภาษี บางประเภทอาจจะมีการเรียกเก็บภาษีสูง เพื่อปกป้องการค้าภายในประเทศ ให้ราคาสินค้านำเข้าไม่มีราคาถูกเกินไปจนลดอำนาจการแข่งขันของผู้ผลิตในประเทศ ในขณะเดียวกันก็มีสินค้าบางประเภทที่ได้สิทธิพิเศษทางภาษี ทำให้มีเรตภาษีที่ต่ำ และอาจจะยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าบางประเภทเพื่อกระตุ้นตลาดผ่านโครงการต่างๆที่รัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศออกนโยบายร่างกัน เช่นโครงการ GSP ที่ญี่ปุ่นให้สิทธิพิเศษทางภาษีกับประเทศที่กำลังพัฒนา อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
สำหรับผู้ที่รักการ shop สินค้าและสั่งซื้อสินค้าจากประเทศเป็นประจำจะรู้ดีว่า โดยทั่วไปแล้วภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่รวมอยู่ในราคาของสินค้าที่สั่งซื้อ และอาจไม่รวมอยู่ในค่าจัดส่งที่จ่ายให้กับผู้ค้าปลีกออนไลน์ด้วย (เว้นแต่จะระบุไว้เป็นการเฉพาะ) ดังนั้น จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้รับปลายทาง (ผู้นำเข้าสินค้า) ถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า เมื่อสินค้าไปถึงประเทศปลายทาง
สำหรับการคำนวณภาษีนำเข้าจะมีวิธีการคำนวณแบบสากลดังนี้
วิธีคำนวณภาษีนำเข้า CIF
เวลาที่เราจะคำนวนภาษีนำเข้า เราจะไม่ได้เอาราคาสินค้าไปคูณกับอัตราภาษีโดยตรง แต่ภาษีนำเข้าจะคำนวนโดยใช้ CIF แทน
- C = ราคาสินค้า
- I = ประกันภัย
- F = ค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อเรารู้ว่า CIF แต่ละตัวคืออะไร เราก็จะสามารถคำนวนทั้ง ภาษีนำเข้า และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แล้ว โดยใช้สูตรในการคำนวน คือ
- ภาษีนำเข้า (อากรขาเข้า) = มูลค่ารวม CIF x อัตราภาษีนำเข้าตามพิกัดภาษีศุลกากร
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (CIF + ภาษีนำเข้า) x 7%
ตัวอย่างเช่น สมมุติว่า CIF ซึ่งเป็นมูลค่ารวมของ(ราคาสินค้า + ประกันภัย + ค่าขนส่ง) = JPY100,000 และอัตราอากรขาเข้าคือ 5% ก็จะคิดอัตราอากรขาเข้าได้เท่ากับ = JPY5,000
และจะคิดภาษีมูลค่าเพิ่มได้เท่ากับ (100,000 + 5,000) x 7% = JPY7,350
ดังนั้น มูลค่ารวมภาษีขาเข้าที่ต้องชำระ = 5,000 + 7,350= 12,350 เยน นั่นหมายความผู้รับสินค้านี้จะต้องชำระเงินสำหรับเป็นภาษีนำเข้า 12,350 เยน
** ในกรณีที่บัญชีราคาสินค้าระบุรายละเอียดค่าประกันภัย และค่าขนส่งของครบแล้ว ให้ใช้ราคาตามบัญชีราคาสินค้านั้น แต่หากไม่มีรายละเอียดค่าประกันภัยและค่าขนส่งของ ให้บวกค่าประกันภัยอีกร้อยละ 1 ของราคา FOB และให้คิดค่าขนส่งของโดยใช้อัตราเฉลี่ยค่าขนส่งของตามพิกัดที่ศุลกากรอนุมัติให้ใช้สำหรับสินค้าเร่งด่วน และสำแดงข้อมูลรายละเอียดของสินค้า และประเภทพิกัด ตามชนิดของที่มีมูลค่ารวมมากที่สุดในใบตราส่งนั้น
การส่งของไปญี่ปุ่นที่ได้รับการงดเว้นภาษีอากรนำเข้า
สำหรับการส่งของไปญี่ปุ่น สินค้าจะได้รับการงดเว้นเก็บภาษีอากรในกรณีดังนี้
- ไม่มีการเรียกเก็บอากรในกรณีส่งของไปประเทศญี่ปุ่น มียอดรวมของราคา CIF (ค่าสินค้า, ค่าประกันภัยและค่าขนส่ง) มูลค่าไม่เกิน JPY10,000 หรือเมื่อคำนวณอากรแล้ว จำนวนรวมไม่เกิน JPY100
- ไม่เรียกเก็บภาษีอุปโภคบริโภค (Consumption Tax) ในกรณีส่งของไปประเทศญี่ปุ่น มียอดรวมของราคา CIF (ค่าสินค้า, ค่าประกันภัยและค่าขนส่ง) มีมูลค่าไม่เกิน JPY10,000 หรือการคำนวณภาษีบริโภคจำนวนรวมไม่เกิน JPY100
การส่งของไปประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการยกเว้น ภาษีอากรและภาษีบริโภค มีดังนี้*
- ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ตัวอย่างเช่น กระเป๋าถือ, กระเป๋าหูหิ้ว, ถุงมือ
- เครื่องนุ่งห่มชนิดถัก เช่น เสื้อยืด, เสื้อยืดถักด้วยขนสัตว์
- รองเท้า เช่น รองเท้าบู๊ตสกี, รองเท้าหนัง, ที่สวมใส่เท้าทำด้วยหนัง
*หมายเหตุ : กรุณาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมกับทีมงานอีกครั้งก่อนทำการจัดส่งสินค้าค่ะ