01 ต.ค. นำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทย อย่างไร ไม่โดนภาษี
อยากนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทยแต่ไม่รู้ว่าต้องดำเนินการอย่างไร ไม่รู้ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง เรื่องของภาษีก็ยังไม่มั่นใจว่าจะต้องจ่ายภาษีแบบไหน ถ้าคุณกำลังงุนงงกับปัญหาเหล่านี้อยู่ ไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ คุณได้เปิดเข้ามาถูกบทความแล้ว เพราะ Fastship จะมาเล่าถึงขั้นตอนในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย พร้อมทั้งอธิบายถึงสิ่งสำคัญๆที่ควรคุณรู้เพื่อให้การนำเข้าของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด
เรื่องแรกที่ควรทำความเข้าใจคือภาษีนำเข้า
องค์ประกอบของภาษีนำเข้า
การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรไทยไม่ว่าจะนำเข้าปริมาณมากหรือน้อย จะมีภาษีอยู่ 2 ประเภทที่ผู้นำเข้าจะต้องรู้จัก เพื่อที่จะได้สามารถคำนวนและบวกเข้าไปในต้นทุนในการนำเข้าสินค้าแต่ละชิ้นได้
- ภาษีนำเข้า หรือ อากรขาเข้า เป็นภาษีที่กรมศุลกากรมีหน้าที่จัดเก็บจากการผู้ที่นำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศ เพื่อนำเอาเงินส่วนนี้กลับไปพัฒนาประเทศ ซึ่งสินค้าแต่ละประเภทจะมีอัตราอากรที่แตกต่างกันไป โดยจะคิดจากมูลรวม CIF (ราคาสินค้า + ประกันภัย + ค่าขนส่ง) นอกจากนี้สินค้าบางประเภทยังได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี รายละเอียดการชำระอากรสินค้า สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ของกรมศุลกากร
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย ทางกรมศุลกากรจะต้องเก็บและนำส่งให้กับกรมสรรพากร โดยรัฐจะกำหนดนโยบายว่าจะเก็บภาษีนำเข้าเท่าไร แล้วบวกด้วย VAT 7% เข้าไป
ขั้นตอนในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศมีหลายรูปแบบ รูปแบบที่ใกล้ตัวและเราอาจจะคุ้นเคยกันดีก็คือ
1. การสั่งซื้อสินค้าจากอินเตอร์เน็ต
เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องด้วยการเดินทางระหว่างประเทศถูกจำกัดจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์และ Marketplace ต่างๆได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
2. การหิ้วสินค้าเข้าไทย
การหิ้วสินค้าเข้ามาในประเทศเวลาที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ โดยปกติแล้วการนำเข้าสินค้าโดยอาศัยเป็นของติดตัวเมื่อเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย หลังจากตรวจพาสปอร์ตและรับกระเป๋าเดินทางแล้ว หาก ไม่มีสินค้าต้องสำแดง ให้เข้าช่องตรวจสีเขียว (Nothing to Declare) แต่ถ้า มีสินค้าต้องสำแดง จะต้องเดินเข้าช่องตรวจสีแดง (Goods to Declare) เพื่อเสียภาษีอากร ซึ่งมีเงื่อนไขในการเสียภาษีนำเข้าคือ
- ของใช้ส่วนตัวที่มีมูลค่ารวมทั้งหมดเกิน 20,000 บาท ไม่ว่าจะเพื่อใช้เองหรือไม่ได้ใช้เองก็ตาม แต่ถ้าหากเป็นสิ่งของที่นำไปจากประเทศไทย จะไม่ถูกนำมาคิดมูลค่าหากมีการสำแดงไว้ก่อนเดินทางไปแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการคิดภาษีจากสินค้าที่ซื้อเข้ามาจากต่างประเทศ ดังนั้นการซื้อสินค้าที่มีมูลค่าเกินกว่า 20,000 บาท แม้ว่าจะมีเจตนาเพื่อนำมาใช้เอง ไม่ได้ตั้งใจจะนำมาขาย ก็มีโอกาสที่จะถูกเรียกจ่ายภาษีได้
- สิ่งของที่มีลักษณะทางการค้า แม้จะมีมูลค่าต่ำกว่า 20,000 บาท ก็อาจจะโดนเรียกเก็บภาษีได้เช่นกัน
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกว่า 1 ลิตร ไม่ว่าจะเป็นการซื้อจากนอกสนามบิน หรือการซื้อจาก Duty free ภายในสนามบินที่เดินทางมา ถ้าหากว่ามีปริมาตรเกินกว่า 1 ลิตร ก็จำต้องเสียภาษีในการนำเข้า
- บุหรี่เกินกว่า 200 มวน ต้องเสียภาษีในการนำเข้า
- ซิการ์หรือยาเส้นเกินกว่า 250 กรัม ต้องเสียภาษีในการนำเข้า
- ของต้องจำกัด หรือของที่ต้องมีใบอนุญาตในการนำเข้าเช่น ยาและอาหารเสริม เครื่องสำอาง สัตว์เลี้ยง อาวุธปืน พืช อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดรน จะโดนตรวจสอบอย่างละเอียด และอาจจะมีการเรียกขอตรวสจสอบเอกสารเพื่ออนุญาติในการนำเข้าได้ด้วย
เทคนิคนำเข้าให้ปลอดภาษี
แน่นอนว่าภาษีเป็นส่วนหนึ่งที่ประชาชนทุกคนมีหน้าที่จ่ายเพื่อให้รัฐบาลนำกลับไปพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น แต่ก็มีเงื่อนไขที่เราสามารถนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศได้แบบปลอดภาษีโดยเป็นการทำตามกฎหมายทุกข้อ (ไม่ใช่สินค้าที่หนีภาษีแต่อย่างใด) ถ้าหากว่าทำตามเงื่อนไขเหล่านี้ก็จะช่วยให้คุณไม่ต้องเสียภาษีในการนำเข้าสินค้า
- การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศผ่านบริการขนส่ง สินค้านำเข้าที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ต้องเป็นของซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัยไม่เกิน 1,500 บาท หรืออาจจะเป็นตัวอย่างสินค้าที่ใช้ได้เพียงเป็นตัวอย่างและไม่มีราคาในทางการค้า และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องกำกัดในการนำเข้า เป็นของยกเว้นอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิต และภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำเข้ามาได้แบบปลอดภาษี
- การนำเข้าสินค้าแบบปลอดภาษี โดยหลักการสามารถทำได้คือ สั่งของรวมทั้งหมดแล้วอย่าให้เกิน 1,500 บาท และพยายามสั่งของประเภทเดียวกันในบิลใบเดียว อย่าผสมสินค้าหลายๆประเภทในบิลใบเดียว เพราะอัตราภาษีที่ต้องเสียขึ้นอยู่กับพิกัดสินค้าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งพิกัดอัตราศุลกากรแตกต่างกันตามประเภทสินค้า
- ในกรณีที่นำเข้าสินค้าโดยการหิ้วเข้ามาเอง ควรพยายามอย่าให้สินค้าเกินเกณฑ์ที่กรมศุลกากรกำหนดในการนำเข้า เช่น ของใช้ส่วนตัวมูลค่ารวมทั้งหมดต้องไม่เกิน 20,000 บาท หรือเป็นของที่นำเข้ามาไม่อยู่ในลักษณะทางการค้า เช่น ซื้อกระเป๋าจำนวนมากแม้มูลค่ารวมจะไม่ถึง 20,000 บาท แต่ก็เข้าข่ายจะซื้อมาเพื่อการค้าขายก็ต้องเสียภาษีนำเข้า