fbpx
 

5 เรื่องที่ควรรู้ก่อนส่งของไปเยอรมัน ภาษี, สินค้าห้ามส่ง, เอกสาร

5 เรื่องที่ควรรู้ก่อนส่งของไปเยอรมัน ภาษี, สินค้าห้ามส่ง, เอกสาร

เยอรมันเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ในสหภาพยุโรป (EU) การส่งของจากไทยไปเยอรมันจึงอาศัยกฎหมายนำเข้าของ EU เป็นเกณฑ์ในการกำหนดว่าอะไรบ้างที่สามารถนำเข้าได้, อัตราภาษีอากร พิกัดสินค้าอัตราเท่าไหร่ ตลอดไปจนถึงเอกสารและระเบียบขั้นตอนต่างๆในการนำสินค้าเข้าเขต EU สำหรับผู้ที่ต้องการส่งของไปเยอรมันไม่ว่าจะเป็นสินค้าเพื่อการค้าขาย หรือจะเป็นการส่งของให้ครอบครัวคนรู้จัก จะต้องศึกษาระเบียบและข้อกำหนดต่างๆก่อนที่จะทำการจัดส่งไปยังเยอรมัน 

Fastship ได้สรุปประเด็นสำคัญๆออกมาเป็น 5 เรื่องที่คุณต้องรู้ก่อนส่งของไปเยอรมันเอาไว้ให้เรียบร้อยในบทความนี้แล้ว รับรองว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังหาข้อมูลอยู่แน่นอน เรามาดูกันเลยค่ะ

 

1. ภาษีในการนำเข้าสินค้าเข้าสู่สหภาพยุโรป

เรื่องของภาษีและอากรในการนำเข้าสินเข้าเข้าเขต EU เป็นเรื่องที่ผู้ส่งหลายๆคนค่อนข้างให้ความสนใจ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นมา ทุกประเทศที่อยู่ในสหภาพยุโรป (EU) ได้เปลี่ยนแปลงกฎที่เกี่ยวกับการซื้อและนำเข้าสินค้าจากนอกเขต EU ผู้ที่อาศัยใน EU และนำเข้าสินค้ามาจากนอกเขตจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT จากสินค้าทุกชิ้นที่นำเข้าสู่เขต EU ซึ่งนั่นรวมถึงประเทศเยอรมันด้วย 

ทำให้สินค้าหลายรายการที่ส่งไปเยอรมัน ผู้รับจะถูกเรียกเก็บภาษีเมื่อส่งไปถึงประเทศเยอรมันแล้ว อัตรา Import VAT ล่าสุดของประเทศเยอรมันอยู่ที่ 19% (สินค้าบางประเภทจะมีการลด VAT สำหรับการนำเข้า) จากที่ก่อนหน้านี้จะยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่มีราคาต่ำกว่า 22 ยูโร ปัจจุบันจะถูกเรียกเก็บไม่ว่าจะเป็นราคาเท่าใดก็ตาม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีนำเข้าของเยอรมัน

 

2. รู้จักกับระบบ IOSS

ระบบ Import One-Stop Shop หรือที่เรียกสั้นๆว่า IOSS เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าเข้าไปในเขต EU ควรจะรู้จักระบบนี้ เพราะเป็นทางเลือกที่ทาง EU แนะนำให้ผู้ขายสินค้านอกสหภาพยุโรปที่ต้องการขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคที่อยู่ในสหภาพยุโรป ได้ลดความซับซ้อนด้านการชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยผู้ขายสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในสหภาพยุโรปจะต้องแจ้งหมายเลข IOSS ให้กับผู้ขนส่ง ก่อนที่จะส่งสินค้าเข้าไปในเขต EU 

ผู้ขายสินค้า Ecommerce จะต้องมอบหมายให้ตัวแทนที่รับดำเนินการ ลงทะเบียนระบบ IOSS ในนามของตนเพื่อเป็นตัวกลางในการดำเนินการทางด้านนิติกรรม ด้านการเงิน และด้านภาษีกับหน่วยงานภาครัฐของประเทศในสหภาพยุโรป โดยผู้ขายจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับตัวแทนตามที่ตกลงกันเอาไว้ เว้นแต่ผู้ขายจะมีสาขาที่จัดตั้งขึ้นในสหภาพยุโรป (ประเทศใดก็ได้) จึงจะสามารถดำเนินการเองได้โดยไม่ต้องผ่านตัวแทน

เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ขายเรียกเก็บจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานด้านภาษีในประเทศปลายทางเอง เมื่อผ่านการลงทะเบียนแล้วผู้ขายจะได้รับหมายเลข IOSS และเมื่อมีการฝากส่งสิ่งของไปยังปลายทางยุโรป ผู้ขายจะต้องแจ้งหมายเลข IOSS ให้ผู้ขนส่ง/ผู้ดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรทราบทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแจ้งให้ประเทศปลายทางทราบ โดยผู้ขายควรเก็บรักษาข้อมูลหมายเลข IOSS เป็นความลับและไม่ควรเปิดเผยหมายเลข IOSS ให้บุคคลทั่วไปทราบ เพื่อป้องกันผู้อื่นละเมิดสวมสิทธิ์หรือนำหมายเลขดังกล่าวไปใช้ในทางมิชอบ

คุณสามารถสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ IOSS กับทีมงานของ Fastship ได้ค่ะ

 

3. สิ่งของที่สามารถส่งได้และส่งไม่ได้

การจัดส่งสินค้าเข้าเขต EU มีกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างเข้มงวดว่าสินค้าใดบ้างที่สามารถเข้าจากภายนอกเข้าไปใน EU ได้ และสินค้าใดบ้างไม่อนุญาติให้ส่งเข้าไปยังเขต EU คุณสามารถตรวจรายการสินค้าต้องห้ามได้ที่เว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ หรือลองดูรายละเอียดสินค้าที่ไม่รับจัดส่งโดย Fastship ได้ที่ https://fastship.co/helps/prohibited-items/ สินค้าบางประเภทเป็นสินค้าต้องห้ามที่ไม่สามารถนำเข้า EU ได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสินค้าไปติดอยู่ที่ด่านศุลกากรประเทศปลายทาง

 

4. จัดเตรียมเอกสารและแพ็คสินค้าให้ดี

เมื่อได้ทำการตรวจสอบสินค้าที่ต้องการจัดส่งไปเยอรมันว่าไม่อยู่ในรายการต้องห้ามและสามารถจัดส่งได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปเป็นการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่ง เอกสารที่ควรจัดเตรียมให้พร้อมคือใบ INVOICE, ใบ AIR WAY BILL และเอกสารเพิ่มเติมอื่นๆที่อาจจะต้องใช้สำหรับสินค้าของคุณเช่น เอกสาร FDA, หนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารสำหรับส่งของไปต่างประเทศ

นอกจากการจัดเตรียมเอกสารให้เรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือการแพ็คสินค้าให้ดี Fastship แนะนำวิธีการแพ็คกล่องพัสดุโดยติดเทปกาวเป็นรูปตัว H ทั้งฝาบนและฝาล่างเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าหลุดออกจากกล่อง และความมีการใช้วัสดุกันกระแทกเพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายของพัสดุที่อยู่ในภายในด้วย 


5. การเลือกบริการส่งของไปเยอรมันให้เหมาะสม

บริการจัดส่งสินค้าไปเยอรมันกับ Fastship มีบริการให้เลือก 2 ประเภท ตามความต้องการของผู้ส่งแต่ละท่าน

  1. Express service เป็นบริการจัดส่งแบบด่วนใช้ระยะเวลา 3-5 วันทำการ
  2. Standard service เป็นการบริการจัดส่งแบบปกติ ใช้ระยะเวลา 7-20 วันทำการ

สามารถเลือกเปรียบเทียบราคา และเอเจ้นท์ที่ต้องส่งได้ตามความต้องการที่เว็บไซต์ของ Fastship ต้องการข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมสามารถติดต่อทีมงานได้เลยค่ะ



Bitnami