fbpx
 

Incoterms คืออะไร? ทำความรู้จักคำศัพท์ Logistic ระหว่างประเทศที่คุณควรรู้

Incoterms คืออะไร? ทำความรู้จักคำศัพท์ Logistic ระหว่างประเทศที่คุณควรรู้

วันนี้เราจะพามารู้จักกับศัพท์โลจิสติกส์ที่สำคัญกับการขายของออนไลน์ค่ะ หมวดหมู่คำศัพท์เบสิกพื้นฐานที่คุณต้องรู้ คือ

Incoterms ย่อมาจาก International Commercial terms  หมายถึงเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างผู้ค้าและผู้ซื้อ  ทำให้ทั้ง 2 ฝ่าย ทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบและค่าใช้จ่ายความเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้น

Incoterms แบ่งเป็น 11 เทอมที่ควรรู้

Incoterms e-commerce

เริ่มแรกเราต้องมาทำความรู้จักกับคำว่า

  1. EXW – Exworks   

การส่งมอบแบบนี้ผู้ขายจะรับผิดชอบสินค้า ว่ามีครบไหม มีแตกหักตรงไหนรึเปล่า เฉพาะ ณ จุดที่ผู้ค้าวางขายสินค้าเท่านั้น เช่น หน้าร้านขาย หน้าโรงงานหรือหลายคนเรียกเทอมแบบนี้ว่า “ราคาหน้าโรงงาน”

  1. FCA – Free Carrier

การส่งของประเภทนี้ผู้ขายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า ถึงแค่สนามบินหรือศุลกากร เพื่อเตรียมส่งออกโดยเครื่องบิน หรือเรือ เมื่อสินค้าอยู่บนพาหนะที่กำลังเดินทาง ค่าใช้จ่ายด้าน ค่าส่ง และอื่นๆ จะตกเป็นภาระของผู้ซื้อ ฉะนั้นราคาของก็รวมกึงค่า Shipping โดยเครื่องบินหรือเรือไปแล้ว

  1. FAS – Free Along Side

ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟรี คือไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ต้นทางจนถึงปากทางท่าเรือ ขนส่งหรือสนามบิน ฉะนั้นผู้ค้าจะรับผิดชอบสินค้าจนถึงปลายทางที่เป็นกาบเรือของท่าเรือ ต้นทางเท่านั้น หลังจากนั้นผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย และความเสี่ยงต่างๆเอง

  1. FOB – Free Onboard Vessel

ผู้ขายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่าง จนกระทั่งสินค้าถูกขนขึ้นไปบนเรือ หรือเครื่องบิน หลังจากที่ของออกเดินทางไปจนถึงที่หมาย ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบเองนะคะ

  1. CFR – Cost and Freight    

ผู้ขายจะรับผิดชอบค่าขนส่ง ค่าภาษีศุลกากรปลายทางและรับผิดชอบด้านความเสี่ยงเมื่อสินค้าถึงเรือหรือเครื่องบิน ถ้าความเสี่ยงระหว่างที่เครื่องบินหรือเรือออกเดินทางผู้ขายจะไม่มีส่วนรับผิดชอบค่ะ

  1. CIF – Cost, Insurance & Freight 

เทอมนี้ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆในการส่งสินค้าเช่น ค่าขนส่ง และค่าประกัน ระหว่างทางไปที่เรือ จนถึงบนเรือ ถ้าเกิดมีการเสียหายบนเรือผู้ขายต้องรับผิดชอบ แต่หน้าที่ของผู้ขายจะหมดลงเมื่อสินค้าถึงท่าเรือปลายทาง

  1. CIP – Carriage and Insurance Paid To

ผู้ขายจะดูแลครอบคลุมไปถึง ช่วงที่ตัวแทนรับสินค้า หรือบริษัทโลจิสติกส์ที่มารับช่วงต่อ เพื่อส่งสินค้าไปถึงมือผู้ซื้ออย่างสมบูรณ์ ผู้ขายจะดูแลค่าประกันสินค้า ค่าภาษีศุลกากร และค่าขนส่ง เป็นต้น

  1. CPT – Carriage Paid To

ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย จนถึงปลายทางที่บริษัทขนส่งมารับของ  ภาระต่างๆเหล่านี้อันได้แก่ ค่าขนส่ง ค่าประกันสินค้า จะสิ้นสุดเมื่อสินค้าถูกส่งมอบไปสู่บริษัทขนส่ง

  1. DDU – Delivery Duty Unpaid

เทอมนี้จะให้คำนิยามของการส่งมอบสินค้าอย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อสินค้าถูกขนลงจากรถบรรทุก หรือนำไปไว้ตามปลายทางที่ระบุไว้ เช่น ขนไปไว้ที่อาคารเก็บสินค้าของผู้ซื้อ ไว้ที่บ้าน ไว้ที่ทำงานของผู้ซื้อ เป็นต้น

  1. DAP – Delivered At Place

เทอมนี้ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบเองทุกอย่างค่ะ ยกเว้นภาษีนำเข้าในแต่ละประเทศปลายทางที่ของจะไปถึง และค่าประกันสินค้า เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด สิ่งเหล่านี้จะเป็นภาระของผู้ซื้อนะคะ

  1. DDP – Delivered Duty Paid

เทอมประเภทนี้ผู้ซื้อจะชอบเป็นพิเศษ เพราะผู้ค้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่งสินค้า ขึ้นรถ ลงเรือ ขนขึ้นเครื่องบิน ค่าประกันสินค้า ค่าศุลกากร ทุกสิ่งอย่างผู้ซื้อไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ทั้งนั้น มักพบบ่อยกับ Market Place ดังๆ อย่าง Amazon

 

เวลาซื้อก็ควรดูนโยบายการส่งสินค้าของแต่ละเจ้า ว่ามีนโยบายอย่างไรและคุณรับได้หรือไม่ หลายคนมองข้ามสิ่งสำคัญส่วนนี้เวลาสั่งสินค้าจากต่างประเทศ  โดยคร่าวๆ จากสถิติพบว่าส่วนใหญ่ธุรกิจ E-Commerce มักจะใช้นโยบายแบบ DAP และ DDP ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะส่งของไป Amazon จะเป็นแบบ DDP คุณจะต้องรับผิดชอบทุกอย่าง

Incoterms for e-commerce



Bitnami