fbpx
 

ส่งของไปต่างประเทศ ราคาเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ส่งของไปต่างประเทศ ราคาเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

หนึ่งในคำถามที่หลายๆคนสนใจเวลาที่ต้องการส่งของไปต่างประเทศคือ “การส่งของไปต่างประเทศ 1 ครั้งมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง” และราคารวมทุกอย่างต่อการส่งของไปต่างประเทศหนึ่งครั้ง รวมทั้งหมดประมาณกี่บาท ไม่ว่าจะเป็นการส่งของไปให้เพื่อนๆและครอบครัวที่ต่างประเทศ หรือการส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศก็ตาม ราคาถือปัจจัยแรกๆที่หลายๆคนมักจะค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในเลือกใช้บริการ

บทความในวันนี้ FastShip จะมาสรุปคำถามนี้ให้อย่างละเอียดว่าการส่งของไปต่างประเทศ 1 ครั้งมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และคุณจะต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ต่อการส่งของ 1 ครั้ง สรุปให้อ่านกันแบบง่ายๆใน 1 บทความ พร้อมตัวอย่างในการคำนวนราคาค่าจัดส่งให้ดูกันด้วย

ในการส่งของไปต่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายหลักๆอยู่ทั้งหมด 4 อย่างด้วยกันคือ

1. ค่าบริการขนส่ง

ค่าใช้จ่ายแรกสุดและเป็นตัวที่สำคัญต่อราคาควมทั้งหมดมากที่สุดก็คือ “ค่าบริการขนส่งพัสดุไปต่างประเทศ” โดยค่าใช้จ่ายนี้จะขึ้นอยู่กับบริการที่คุณที่เลือกใช้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นบริการส่งของไปต่างประเทศแบบด่วน (Express service) ก็จะมีราคาค่าบริการที่สูงกว่าแต่แลกมาด้วยความรวดเร็วในการจัดส่งที่รวดเร็ว ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันก็ถึงจุดหมายปลายทาง เหมาะกับผู้ที่มีความต้องการส่งของแบบรวดเร็ว ในขณะที่บริการส่งของแบบธรรมดา (Standard service) จะมีค่าบริการที่ถูกกว่า แต่จะมีระยะเวลาในการจัดส่งที่นานกว่า คุณสามารถเลือกใช้บริการที่เหมาะสมกับความต้องการได้

การจัดส่งพัสดุไปต่างประเทศจะมีราคาที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทาง ซึ่งราคาก็จะมากน้อยขึ้นอยู่กับระยะทางและความครอบคลุมของเครือข่ายในการจัดส่งไปยังปลายทางนั้นๆ

ในการส่งของไปต่างประเทศ น้ำหนักของพัสดุเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องพิจารณาเพื่อประเมินค่าจัดส่ง การจัดส่งไปยังจุดหมายปลายทางเดียวกัน ถ้าพัสดุมีน้ำหนักที่แตกต่างกันราคาก็จะต่างกันไปด้วย ในกรณีพัสดุที่มีน้ำหนักมากก็ย่อมมีราคาในการจัดส่งที่สูงยิ่งขึ้นตามไปด้วย คุณสามารถเช็คราคาค่าจัดส่งก่อนที่จะทำการจัดส่งจริงๆได้ที่หน้าเว็บไซต์ของ FastShip โดยกรอกน้ำหนักของพัสดุและจุดหมายปลายทางที่ต้องการจัดส่ง จากนั้นระบบจะทำการคำนวนราคาในการจัดส่งออกมาให้อัตโนมัติ

2. ค่าแพ็คเกจจิ้ง สำหรับหีบห่อพัสดุ

อีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่หลายๆคนมักจะลืมนึกถึงก็คือ “ค่าแพ็คเกจจิ้งในการหีบห่อพัสดุ” ซึ่งมีทั้งต้นทุนสำหรับซื้อกล่อง วัสดุกันกระแทก เทป และอื่นๆ รวมถึงมีต้นทุนด้านเวลาที่ต้องใช้ในการแพ็คหีบห่อด้วย สำหรับท่านที่ไม่สะดวกในการแพ็คสินค้าให้เหมาะสมเอง ทาง FastShip เรามีบริการ Repack พัสดุไว้บริการให้กับลูกค้าของ FastShip ซึ่งคิดค่าใช้จ่ายดังนี้ 

  • พัสดุหนัก 0-10 kg. คิดค่าบริการ 50 บาท/กล่อง 
  • พัสดุหนักมากกว่า 10 กิโลกรัมขึ้นไป คิดค่าบริการ 100 บาท/กล่อง 

ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะถูกเก็บเมื่อFastShip ตรวจสอบพบว่าพัสดุของท่านมีการแพ็คที่อาจไม่เหมาะสมกับการส่งพัสดุไปต่างประเทศโดยก่อน Repack จะมีการแจ้งทุกครั้งก่อนทำการRepack

สำหรับวิธีการแพ็คสินค้าสำหรับส่งไปต่างประเทศ สามารถอ่านวิธีการแพ็คสินค้าที่ดีได้ที่บทความนี้ แชร์วิธีแพ็คของส่งต่างประเทศ ประหยัดค่าส่งและของไม่เสียหาย

3. ค่าภาษีนำเข้าสำหรับประเทศปลายทาง

อีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการส่งสินค้าไปต่างประเทศคือ “ค่าภาษีนำสินค้าเข้าประเทศ” ซึ่งเป็นภาษีนำเข้าที่แต่ละประเทศจะจัดเก็บเมื่อมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ แน่นอนว่าอัตราการเก็บภาษีของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไป และสินค้าแต่ละประเภทก็จะมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไป ข้อมูลอัตราภาษีของสินค้าแต่ละประเภท สามารถเปิดดูอัตราภาษีเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ศุลกากรของแต่ละประเทศได้ สำหรับการจัดส่งพัสดุไปต่างประเทศกับ FastShip เราส่งด้วย Term DDU (Delivery Duty Unpaid) ในกรณีมีภาษีนำสินค้าเข้าประเทศ ผู้รับปลายทางจะเป็นผู้ชำระเงินค่าภาษีนั้น

4. ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับพัสดุที่บ้าน

ค่าใช้จ่ายตัวที่ 4 เป็นค่าใช้จ่ายที่หลายๆคนอาจจะลืมนึกถึงไป นั่นก็คือค่าใช้จ่ายในการนำเอาสินค้าไปยังบริษัทขนส่งต่างๆ สำหรับ FastShip เรามีบริการเข้ารับสินค้าที่บ้านของคุณเพื่ออำนวยความสะดวกสบาย โดยมีการคิดค่าบริการดังนี้

  • เข้ารับโดย Kerry  คิดค่าบริการ 80-100 ขึ้นอยู่กับบริการที่เลือก (ฟรี กรณีเลือกส่งแบบด่วน Express )
  • เข้ารับโดย FastShip (ภายในวันที่ทำรายการจัดส่ง กรณีทำรายการ ก่อน 13.00) มีค่าใช้จ่าย 200 บาท 
  • เข้ารับแบบ On demand มีค่าใช้จ่าย 350 บาท 

1. ส่งแบบด่วน (Express)

  • ฟรี เข้ารับถึงบ้านโดย Kerry  และ FastShip 
  • ฟรี ค่าดรอปออฟพัสดุที่ไปรษณีย์ไทย
  • เข้ารับแบบ On demand มีค่าใช้จ่าย 350 บาท

2. ส่งแบบธรรมดา (Standard)

  • เข้ารับโดย Kerry  คิดค่าบริการ 80-100 บาท 
  • เข้ารับโดย FastShip ภายในวัน มีค่าใช้จ่าย 200 บาท (ฟรี เมื่อส่งครบ 2,000 บาท ขึ้นไป เฉพาะกทม.) 
  • ค่าดรอปออฟพัสดุที่ไปรษณีย์ไทย 50 บาท 
  • เข้ารับแบบ On demand มีค่าใช้จ่าย 350 บาท 

ในกรณีที่คุณนำส่งพัสดุที่สาขาของ FastShip ด้วยตัวเอง สามารถที่จะหักค่าบริการส่วนนี้ออกไปจากการคำนวนได้ค่ะ


ตัวอย่างการคำนวณค่าใช้จ่ายในการส่งของไปต่างประเทศ

ตอนนี้เราก็ได้รู้กันแล้วว่าการส่งของไปต่างประเทศมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ก่อนจบบทความนี้ FastShip จะมาลองคำนวนราคาค่าขนส่ง เป็นตัวอย่างให้ผู้อ่านเพื่อเอาไปประยุกต์ใช้กับการคำนวนค่าขนส่งของคุณได้ โดยเราจะยกตัวอย่างการส่งสินค้าน้ำหนัก 1 กิโลกรัมไปประเทศสหรัฐอเมริกา เราไปดูตัวอย่างกันเลยค่ะ 

  1. ขั้นตอนแรกสุดคือ เปิดเข้าเว็บไซต์ FastShip จากนั้นให้ทำการล็อกอินเข้าสู่ระบบ และ กรอกข้อมูลในระบบว่าต้องการจัดส่งสินค้าไปที่ใด พัสดุมีน้ำหนักเท่าไหร่ เลือกใช้บริการรูปแบบ หลังจากนั้นระบบจะทำการคำนวณค่าใช้จ่ายให้อัตโนมัติว่าเป็นราคาค่าส่งกี่บาท ในตัวอย่างนี้เราจะกรอกน้ำหนัก 1 กิโลกรัมและจุดหมายปลายทางเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะมีราคา 1,044 บาท
  2. ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับสินค้า เนื่องจากเป็นการจัดส่งแบบ Express ในตัวอย่างนี้จะเลือกใช้บริการเข้ารับพัสดุถึงบ้านฟรี ซึ่งจะทำให้ตัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็น 0 บาท
  3. ค่าใช้จ่ายสุดท้ายคือในกรณีที่มีภาษีในการนำเข้าสินค้าที่อาจจะเกิดขึ้นที่ปลายทาง ด้วย Term แบบ DDU จะเป็นผู้รับสินค้าที่เป็นผู้จ่ายภาษีในการนำเข้านี้ จำนวนจะขึ้นอยู่กับอัตราภาษีของแต่ละประเทศ ในตัวอย่างนี้เราจะคำนวนแบบไม่มีภาษีนำเข้า

รวมแล้วค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการส่งพัสดุ 1 กิโลกรัมแบบ Express service ไปสหรัฐอเมริกาคือ 1,044 บาท โดยมีรายละเอียดตามตารางนี้ค่ะ

รายการ ราคาค่าใช้จ่าย
1. ค่าบริการขนส่ง 1,044 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการเข้ารับพัสดุ 0 บาท
3. ค่าภาษี 0 บาท
รวม 1,044 บาท

สรุปค่าใช้จ่ายในการส่งของไปต่างประเทศ

การส่งของไปต่างประเทศจะมีราคาค่าใช้จ่ายที่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเช่น ค่าบริการขนส่ง, จุดหมายปลายทาง, น้ำหนักของพัสดุ, ค่าเข้ารับพัสดุ และภาษี คุณสามารถที่จะคำนวนค่าใช้จ่ายได้ก่อนที่จะทำการจัดส่งจริงๆ หรือจะให้ทีมงานมืออาชีพ FastShip ของเราช่วยในการคำนวนค่าใช้จ่ายได้ ติดต่อทีมงานเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยค่ะ



Bitnami