12 ก.ย. ภาษีนำเข้า-อากร เมื่อซื้อของจากต่างประเทศ คำนวนอย่างไร
การขนส่งข้ามพรมแดนส่วนใหญ่เมื่อสินค้าเดินทางไปถึงประเทศปลายทางแล้ว ผู้รับจะต้องทำการชำระภาษีของสินค้าชิ้นนั้น เป็นภาษีอากรขาเข้า การคำนวณจำนวนเงินที่ถูกต้องของภาษี เป็นกระบวนการซับซ้อน แต่ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับคนที่ซื้อขายสินค้าผ่าน Marketplace ต่างประเทศบ่อยๆ และเป็นเรื่องที่คุณต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า ถ้าเราซื้อของเข้ามาจากต่างประเทศเราจะต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
ภาษีนำเข้า ที่เราจะต้องเสียมีอะไรบ้าง?
1. ภาษี Tax
เป็นการเก็บภาษีเพื่อพัฒนาประเทศ การนำสินค้าเข้าประเทศแน่นอนว่าจะต้องมีการเสียภาษี ซึ่งภาษีจะเรียกเก็บในอัตราเดียวกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสินค้าชนิดใดก็ตาม แต่ก็จะมีการยกเว้นในบางกรณี ในเฉพาะบางประเทศ หรือในบางรัฐ เพราะรัฐบาลมีกฎหมายปลอดภาษีให้กับประชาชน เช่น ถ้าหากสินค้าที่สั่งเข้ามาในสหรัฐอเมริกา แล้วมีใบสั่งซื้อสินค้าที่มีมูลค่าต่ำว่า 800 เหรียญ ก็จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีนั่นเอง ดูรายละเอียดว่าแต่ละประเทศมีขั้นต่ำที่ไม่ต้องเสียภาษีเท่าไร
2. อากร Duty
อากรเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะบังคับจัดเก็บจากราษฎร เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม อากรจะเรียกเก็บตามส่วนของมูลค่าสินค้าและส่วนของปริมาณสินค้า มูลค่าอากรที่ต้องจ่าย จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับว่าประเทศปลายทางมีกฎหมายในการกำหนดอัตราอากรอย่างไร
เพราะแต่ละประเทศก็จะมีการเรียกอากรของแต่ละประเภทสินค้าที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้การส่งของไปประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าหากส่งของเพื่อการพาณิชย์ ก็อาจจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมการค้า (Merchandising Processing Fee) ภาษีขาย (Sales Tax) และภาษีเงินได้ (Internal Revenue Tax) เพิ่มขึ้นอีกด้วย
สรุปง่ายๆ เกี่ยวกับภาษีที่ต้องจ่าย เวลาซื้อของจากต่างประเทศ
สรุปแล้ว เวลามีการส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้น ผู้รับสินค้าจะมีหน้าที่จ่าย
- Tax คือ ภาษี เป็นเงินที่รัฐบาลจะเรียกเก็บจากประชาชนเพื่อไปพัฒนาประเทศ
- Duty คือ อากรขาเข้า ขาออก ซึ่งอากรจะต่างกันไปตามประกาศการนำเข้าของสินค้าต่างๆ ตามกรมศุลกากร เช่น อากรขาเข้า 5%, 10%, 30% เป็นต้น ก็ถือเป็นส่วนย่อยของ TAX เช่นกัน
- VAT คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค เป็นส่วนย่อยของ TAX
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าสินค้าประเภทไหนต้องเสียอากรกี่เปอร์เซ็นต์
HS Code (Harmonized System) คือ ระบบจำแนกประเภท และระบุชนิดด้วยรหัสเลข 6 หลัก เป็นมาตรฐานสากลที่องค์การศุลกากรโลก (WEC) จัดทำขึ้นเพื่อจัดจำแนกและระบุสินค้าที่มีการซื้อขายได้อย่างถูกต้อง
โดยภาษีศุลกากรโดยทั่วไปจะคำนวณจาก
– ประเภทผลิตภัณฑ์และการใช้ / ฟังก์ชัน (HS codes) HS Code คืออะไร
– ข้อตกลงทางการค้า
– โควตาการนำเข้าประเทศที่ส่งออก
– ราคาขนส่ง